น้ำมันปลาสกัดเข้มข้นบริสุทธิ์ บำรุงผิวพรรณ ช่วยการไหลเวียนของเลือด ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ บำรุงสมอง
* น้ำมันปลาสกัดธรรมชาติ เป็นแหล่งของกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เหมาะสำหรับบำรุงหัวใจและหลอดเลือด บำรุงสมอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
* มี EPA = 300 mg และ DHA = 200 mg ต่อ 1 เม็ด ซอฟท์เจล
น้ำมันปลานี้ลิขสิทธิ์โดย ecOmega® Fish Oil Concentrate เฉพาะสำหรับ Swanson เป็นน้ำมันปลาระดับ highest pharmaceutical grade ประกอบด้วย น้ำมันปลาสกัด + omega-3 550 mg+ EPA และ DHA
วิธีรับประทาน: วันละ 1 เม็ด พร้อมอาหาร
Code: SWE026
Swanson EFAs Super EPA Fish Oil/ 100 Sgels
- All natural source of essential fatty acid nutrition for heart and mind
- Delivers 300 mg of EPA and 200 mg of DHA per softgel
- Features a potent fish oil concentrate
Product Description:
Super EPA Fish Oil
"I really find this fish oil to be of high quality. I never get an aftertaste nor an upset stomach after taking it. I recommend this fish oil to everyone." ~product review by funnygirl56
For omega-3 nutrition, turn to Swanson Super EPA. This all-natural dietary supplement has EPA (eicosapentaenoic acid) and DHA (docosahexaenoic acid), two omega-3 essential fatty acids that play important roles in maintaining healthy skin as well as cardiovascular and defense system function.
Product Label:
Super EPA Fish Oil
Supplement Facts
Serving Size 1 Softgel
Amount Per Serving | % Daily Value | |
---|---|---|
Calories | 10 | |
Calories from Fat | 10 | |
Total Fat | 1 gram | <2% |
ecOmega® 30/20 Fish OilConcentrate | 1 gram | * |
Total Omega-3 Fatty Acids | 550 mg | * |
EPA (eicosapentaenoic acid) as ethyl esters (EE) | 300 mg | * |
DHA (docosahexaenoic acid) as ethyl esters (EE) | 200 mg | * |
Other Omega-3 Fatty Acids as ethyl esters (EE) | 50 mg | * |
Percent Daily Values are based on a 2,000 calorie diet.
*Daily Value not established.
Other ingredients: Gelatin, glycerin, purified water, natural tocopherols.
Suggested Use: As a dietary supplement, take one softgel per day with food and water.
WARNING: Consult your healthcare provider before use if you are taking a blood-thinning medication
Solvent free.
ecOmega® is a registered trademark of Marine Nutriceutical Corp., based on proprietary processing techniques. ecOmega® is exclusively licensed to Swanson Health Products.
Fish Oil
ร่างกายของเราต้องการกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ในการมีชีวิตอยู่ อย่างมีประสิทธิภาพ สองชนิด กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า – 3 นั้น เป็นหนึ่งในกลุ่มกรดไขมัน ที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ สารสำคัญที่อยู่ในกลุ่มโอเมก้า – 3 นี้แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ คือ ชนิดที่หนึ่งได้แก่พวก EPA และ DHA
(EPA ย่อมาจาก EICOSAPANTAENOIC ACID)
(DHA ย่อมาจาก DOCOSAHEXANOIC ACID)
ซึ่งพบมากในปลาอ้วน ๆ ใต้ทะเลลึก เช่น ปลาซาลมอน และแม็คเคอเรล (SALMON AND MACKEREL ซึ่งมีไขมันที่เรียกว่า FISH OIL น้ำมันปลา (มิใช่น้ำมันตับปลา) จำนวนสูงกว่าปลาน้ำจืด ส่วนชนิดที่สองชื่อ กรดอัลฟาไลโนเลอิก (ALPHA – LINOLEIC ACID) ซึ่งเป็นกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า – 3 ซึ่งพบมากในอาหารพวกธัญพืช ร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนแปลงกรดไขมันที่มีอยู่ในพืชตัวนั้น ให้เป็นกรด ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า คือ EPA และ DHA น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันตัวนี้สูง คือ Canola oil และ FAXSEED oil ส่วนพืชพวกข้าวโพด, ถั่วเหลือง, เมล็ด ทานตะวัน และผลิตภัณฑ์ทางอาหาร ที่ทำจากพืชและน้ำมันพวกนี้ เช่น เนยเทียม ย่อมมีกรดไขมันที่มีประโยชน์ตัวนี้อยู่มากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นักวิจัยด้านโภชนาการเสนอแนะว่า ร่างกายคนเราควรได้รับ กรดไขมัน ทั้งสองชนิด ในสัดส่วนที่สมดุลกัน เช่น หนึ่งต่อหนึ่ง คือ มิใช่ว่า รับประทานกรดไขมัน ชนิดหนึ่ง สูงกว่าอีกชนิดหนึ่ง
(EPA ย่อมาจาก EICOSAPANTAENOIC ACID)
(DHA ย่อมาจาก DOCOSAHEXANOIC ACID)
ซึ่งพบมากในปลาอ้วน ๆ ใต้ทะเลลึก เช่น ปลาซาลมอน และแม็คเคอเรล (SALMON AND MACKEREL ซึ่งมีไขมันที่เรียกว่า FISH OIL น้ำมันปลา (มิใช่น้ำมันตับปลา) จำนวนสูงกว่าปลาน้ำจืด ส่วนชนิดที่สองชื่อ กรดอัลฟาไลโนเลอิก (ALPHA – LINOLEIC ACID) ซึ่งเป็นกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า – 3 ซึ่งพบมากในอาหารพวกธัญพืช ร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนแปลงกรดไขมันที่มีอยู่ในพืชตัวนั้น ให้เป็นกรด ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า คือ EPA และ DHA น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันตัวนี้สูง คือ Canola oil และ FAXSEED oil ส่วนพืชพวกข้าวโพด, ถั่วเหลือง, เมล็ด ทานตะวัน และผลิตภัณฑ์ทางอาหาร ที่ทำจากพืชและน้ำมันพวกนี้ เช่น เนยเทียม ย่อมมีกรดไขมันที่มีประโยชน์ตัวนี้อยู่มากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นักวิจัยด้านโภชนาการเสนอแนะว่า ร่างกายคนเราควรได้รับ กรดไขมัน ทั้งสองชนิด ในสัดส่วนที่สมดุลกัน เช่น หนึ่งต่อหนึ่ง คือ มิใช่ว่า รับประทานกรดไขมัน ชนิดหนึ่ง สูงกว่าอีกชนิดหนึ่ง

เวลานี้ นักวิจัยยังไม่เสนอข้อตกลงที่แน่นอน ว่าคนเราควรได้รับสารกลุ่มกรดไขมันโอเมก้า – 3 เป็น จำนวนเท่าใด เพื่อนแพทย์คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าหลังจากที่เขาซื้อปลาทะเล เช่น ซาลมอน มารับประทานทุกวันระดับโคเลสเตอรอล ที่สูงเกินปกติไปมากนั้น ได้ลดลงต่ำกว่าระดับเดิม จนอยู่ในขั้นปกติ ภายในเวลา 3 เดือน เท่านั้น แต่ทั้งนี้ต้องรวมทั้งการออกกำลังกายด้วย ส่วนปลาที่เขาซื้อมารับประทานนั้น เป็นปลาที่จับจากทะเล มิใช่ปลาเลี้ยง ดิฉันไม่ทราบว่า ปลาจากสองแหล่งนั้น มีจำนวนกรดไขมันโอเมก้า – 3 มาก น้อยกว่ากัน จนคุ้มกับราคาปลา ราคาถูกแพงต่างกันหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากรายงานที่ส่งเสริมการรับประทานปลาทะเล รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่สกัดมา ซึ่งวางขายตามหิ้งของร้านขายยา ซึ่งมีชื่อว่า “น้ำมันปลา” (Fish oil) นั้น มีมากมาย เป็นต้นว่า
* ในกลุ่มเด็ก 468 คนในทวีปออสเตรเลีย ซึ่งได้รับประทานปลาทะเล ที่อุดมด้วย กรดโอเมก้า – 3 อย่างน้อยหนึ่งครึ่งต่อสัปดาห์ เป็นกลุ่มที่เป็นโรคหอบหืดน้อยกว่า กลุ่มเด็กที่รับประทานปลาถึง 25 เปอร์เซ็นต์ (Medical Journal Australia Feb 5-1996)
* ที่เมืองซีแอตเติล สตรีจำนวน 324 คน ที่รับประทานปลา โดยเฉพาะปลาซามอล ไม่ว่าในรูปอบหรือย่าง อย่างน้อยสองครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราการเกิดโรคข้ออักเสบ ชนิดรูห์มาตอยด์ต่ำลง ส่วนสตรีที่เกิดปัญหานี้ ถ้าได้รับน้ำมันปลา ในรูปผลิตภัณฑ์ เม็ดอาหารเสริม จะมีอาการอักเสบของข้อลดลง (Epidemiology May 1996)
* สตรีที่ปวดท้องช่วงมีประจำเดือนมากเพราะมีการผลิตสารกลุ่ม EICOSANOIDS สูง จนทำให้เกิดมดลูกหดตัวอย่างมาก อาการเจ็บปวดจะลดลง เมื่อเธอรับประทาน น้ำมันปลาเป็นเวลาสองเดือน (ทดลองในกลุ่มสตรี 37 คน ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อย American Journal of OB-GYN April 1996)
* กลุ่มมารดาที่ตั้งครรภ์ ถ้ารับประทานอาหารที่มีกรดโอเมก้า – 3 จะเกิด ปัญหา ทางการตั้งครรภ์เป็นพิษต่ำลง (Epidemiology May 1995)
* ส่วนโรคลำไส้เล็กอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งเต้านมนั้น การได้รับอาหาร กลุ่มกรดไขมันโอเมก้า – 3 ซึ่งมีพวก EPA และ DHA สูง ช่วยทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีอาการดีขึ้น และเกิดอาการกำเริบน้อยลง (New England Journal of Medicine June 13 1996)
ส่วนเรื่องเกี่ยวกับหัวใจ กรดไขมันกลุ่มนี้ช่วยทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ มีกลไกการปั้มเข้าออก สารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม, โซเดียมคลอไรด์และประจุไฟฟ้าอื่น ดำเนินไปอย่างปกติ เพื่อควบคุมการยืด และหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ด้วยเหตุนี้ถ้ากรดโอเมก้า – 3 ขาดหายไป การเต้นของหัวใจ ย่อมผิดปกติ เรียกว่า การเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่พบบ่อย และเกิดแทรกซ้อนหลังจากหัวใจวายดังปรากฏในการทดลองกับกลุ่มผู้ชาย 295 คน ที่เมืองซีแอตเติล ที่รับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง จะมีอัตราการเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากการเต้นหัวใจผิดจังหวะ เพียงครึ่งหนึ่งของกลุ่ม ที่ ไม่รับประทานอาหารแบบเดียวกัน ส่วนในประเทศอังกฤษ ผู้ชายจำนวน 883 คน ที่เคยมีอาการหัวใจวายแล้ว ดำรงชีวิตต่อมาเป็นเวลา 2 ปี โดยการรับประทานอาหาร กลุ่มที่มีไขมัน โคเลสเตอรอลต่ำ และรับประทานปลาทะเล ที่มีกรดไขมันพวกนี้ อยู่เป็นจำนวนมาก อย่างน้อยสองถึงสามครั้งต่อสัปดาห์ ผู้ชายกลุ่มนี้มีอัตราตายลดลง 29 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ดูแลตนเองทางโภชนาการดังกล่าว (Lancet Sept 30 1989) ส่วนชายชาวฝรั่งเศส ที่เคยมีปัญหาเดียวกันจำนวน 289 คนนั้น มีอัตราตายจากโรคหัวใจลดลง ถึง 81 เปอร์เซ็นต์ใน 5 ปี ถ้ารับประทานอาหารดังกล่าว รวมทั้งพวกเนยเทียมที่ทำจาก Cainola oil (Lancet June 11 1994)
นอกจากนี้ เยื่อหุ้มเซลล์ในสมองมีส่วนประกอบที่เป็นสารกรด DHA ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุนี้จิตแพทย์ Dr.Joseph R.Hibbeln แห่ง National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism เชื่อว่าถ้าปริมาณสารกรด DHAใน เยื่อหุ้มเซลล์ของสมองต่ำลง ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในการสื่อสารทางสมอง จนเกิดความผิดปกติทางด้านอารมณ์ โดยเฉพาะทางซึมเศร้า เพราะเขาเฝ้าติดตามดูในคนไข้ที่มีปัญหานี้ และนักศึกษาชาวญี่ปุ่น 22 คน
สรุปประโยชน์ของน้ำมันปลา
1.ป้องกันโรคหัวใจและปัญหาหลอดเลือด
2.ลดคลอเรสเตอรอลโดย EPA จะเป็นสารตั้งต้นในการ สร้าง eicosanoids โดยเฉพาะอย่างยิ่ง series-3 prostaglandins และ series-5 leucotriene (LTB-5) ซึ่งสารหลาย ๆ ตัวในกลุ่มดังกล่าวจะช่วยลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ช้าลง จึงช่วยลดความเสี่ยงของอันตรายจากโรคหัวใจและ หลอดเลือด
3. ช่วยเพิ่มความลื่นไหลของผนังเซลล์ อาจจะมีผลช่วยสาร Endothelium สาร Endothelium Derived Releasing Factor (EDRF) ในการลดความดันโลหิตและลดการสร้าง Tria-cylglycerols และ triglycerides ในตับส่งผลให้ cholesterol และ lipoprotein LDL ลดลง
4. ในกรณีของโรคข้ออักเสบ พบว่า EPAลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของข้อกระดูก
5. น้ำมันปลาช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่มิให้ก่อตัวเป็นมะเร็งได้
6. น้ำมันปลาช่วยยับยั้งการลุกลามของมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด
2.ลดคลอเรสเตอรอลโดย EPA จะเป็นสารตั้งต้นในการ สร้าง eicosanoids โดยเฉพาะอย่างยิ่ง series-3 prostaglandins และ series-5 leucotriene (LTB-5) ซึ่งสารหลาย ๆ ตัวในกลุ่มดังกล่าวจะช่วยลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ช้าลง จึงช่วยลดความเสี่ยงของอันตรายจากโรคหัวใจและ หลอดเลือด
3. ช่วยเพิ่มความลื่นไหลของผนังเซลล์ อาจจะมีผลช่วยสาร Endothelium สาร Endothelium Derived Releasing Factor (EDRF) ในการลดความดันโลหิตและลดการสร้าง Tria-cylglycerols และ triglycerides ในตับส่งผลให้ cholesterol และ lipoprotein LDL ลดลง
4. ในกรณีของโรคข้ออักเสบ พบว่า EPAลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของข้อกระดูก
5. น้ำมันปลาช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่มิให้ก่อตัวเป็นมะเร็งได้
6. น้ำมันปลาช่วยยับยั้งการลุกลามของมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น